Ads 468x60px

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

แล้วแต่กรรม |KARMA

 

 

 

ชีวิตของเราแล้วแต่  “ กรรม “ หรือ ?

เราเคยได้ยินคำที่พูดว่า  แล้วแต่กรรม  อะไร ๆ ก็แล้วแต่กรรม อยู่เสมอ ๆ ท่านทราบไหมว่า

กรรม  คืออะไร

กรรมหมายถึงอะไร

กรรม  เกิดขึ้นได้อย่างไร

กรรม     ให้ผลอย่างไร

กรรม เป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา ที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรรู้  ควรเข้าใจ  เพื่อที่จะได้เข้าใจชีวิตของตนว่า  ชีวิตของเรานี้มาจากไหน  มีความเป็นไปของชีวิตอย่างไร ทำไมคนทั้งโลกจึงไม่เหมือนกัน  หรือมีส่วนไหนที่เหมือนกัน  และมีส่วนไหนที่ไม่เหมือนกัน มีความสุข  ความทุกข์มากน้อยต่างกันเพราะเหตุใด และใครเป็นผู้ลิขิตชีวิตของเรา

กรรม คืออะไร

           กรรม  คือ การกระทำ

          เครื่องมือในการกระทำกรรม คือ ใจ วาจา  และ กาย

         การศึกษาและเรยนรู้ให้เข้าใจเรื่องธรรมชาติของจิตกับอารมณ์ (สิ่งที่รู้ กับสิ่งที่ถุกรู้ ) ตามหลักการทางพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่จะนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการของการสร้างกรรม

กรรม  หมายถึงอะไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร

        ตัว “ กรรม” ก็คือ ตัว “ เจตนา” (การจงใจที่จะกระทำ) ที่ประกอบอยู่ในจิตของเรา  เราจะทำอะไร  ตัวเจตนาก็จะสร้างสิ่่งนั้นขึ้นมาก่อนในจิตใจของเรา  เช่น เราต้องการจะวาดภาพอะไร  เจตนา  จะต้องคิดสร้างภาพนั้นขึ้นมาในใจก่อนแล้ววาดภาพนั้นขึ้นมา  และใส่ความรู้สึกลงไปในภาพนั้น 

       เหมือนเมื่อเราโกรธหรือเกลียดใคร  คิดจะว่าเขาเป็นสัตว์ชนิดไหน  เราต้องสร้างภาพของสัตว์นั้นขึ้นในใจของเราก่อน  แล้วก็พูดไปตามความรู้สึกที่มีต่อภาพนั้น  ภาพที่เราสร้างขึ้นในจิตใจของเรานั้น  ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “ อารมณ์ภายใน” 

           จิต    เป็นธรรมชาติที่  “รู้ “

           อารมณ์    เป็นธรรมชาติที่  “ถุกรู้ “

           ในโลกนี้จึงมีแต่  “สิ่งที่รู้ “ และ  “สิ่งที่ถูกรู้ “ เท่านั้น

หรือ 

           จิต    เป็นธรมชาติที่รู้ “อารมณ์ “

           อารมณ์  เป็นธรรมชาติที่ถูก  “จิต”  รู้ทาง  ตา  หู  จมูก

                                                     ลิ้น   กาย  และใจ  (ทวาร 6 )

จิต  นอกจากมีหน้าที่รู้อารมณ์ทาง  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย และใจแล้ว  ยังมีความสามารถเก็บสิ่งที่ได้รู้   ได้เห็น   ได้คิด   ได้สัมผัสแล้วไว้ทั้งหมดอย่างครบถ้วนไม่สูญหายไปไหนเลย   และเมื่อได้คิดได้กระทำลงไปแล้ว   จะต้องได้รับผลของการกระทำนั้น ๆ อย่างแน่นอน   และกรรมมนั้นจะหมดไปจากจิตเมื่อเราได้รับผลตามชนิดของกรรมนั้น ๆ ตามกฏแห่งกรรม

          ดังนั้น   แรงของกรรมจึงมีพละกำลังมาก    ไม่มีแรงใดจะเสมอด้วยแรงของกรรม  “นัตถิ  กัมมัง  สมัง  พลัง “ (นตฺติ   กมฺมํ  สมํ  พลํ)

กรรมให้ผลอย่างไร

          การกระทำทุกอย่างของเราไม่ว่าจะดีหรือเลว  จิตจะเก็บการกระทำเหล่านั้นไว้ทั้งหมด   เก็บรอไว้จนถึงเวลาที่กรรมนั้นจะให้ผล  และเวลาการให้ผลของกรรมจะแตกต่งกันไปตามประเภท   ของกรรมที่ได้กระทำไว้   เป็นหลักการที่แน่นอน   เหมือนพืชต่างชนิดกัน   เวลาของการให้ “ผล”  ย่อมช้า  เร็ว ต่างกัน พืชที่เกิดจากผลชนิดใด   ก็ต้องให้ผลชนิดนั้นแน่นอน

          พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ไม่รู้ และไม่เข้าใจในเรื่องของกรรมที่ถูกต้อง  จึงไม่เชื่อในเรื่องกรรม   และเมื่อไม่รู้เรื่องเวลาการให้ผลของกรรม  ทำให้เกิดความเข้าใจผิดโดยคิดเอาเองว่า “ทำดี  ได้ดีมีที่ไหน  ทำชั่ว  ได้ดี มีถมไป “ จึงพลาดโอกาสในการ “ทำเหตุ “ ที่เป็นประโยชน์ไปบ่อย ๆ และเป็นการทำลายประดยชน์ที่ตนควรจะได้รับไปด้วย

            เรื่องของกรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดซับซ้อน   และมีตัวแปรมากมาย   จึงทำให้เข้าใจในเรื่องของกรรมได้ยากมา  ชนิดของกรรมและการให้ผลของกรรมมีแสดงไว้ในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนามากมาย  จะต้องค้นคว้า  ศึกษา และฟัง จากท่านผู้รู้ต่ง ๆ แล้วจึงคิดและวิเคราะห์ตามหลักเกณฑืและเหตุผล   ไม่ใช่ “คิดเอาเอง” 

          ดังนั้น   ถ้าต้องการประโยชน์และความสุข  จะต้องทำ “ เหตุที่ดี “ (สุจริต)

           ถ้าต้องการโทษและความทุกข์  จะต้องทำ  “ เหตุที่ไม่ดี “ (ทุจริต) นี่คือ ความจริง

          ความจริง  จะต้องเป็นความจริงเสมอ  ไม่าว่าจะเชื่อหรือไม่ ก็ตาม  และความจริงนั้นก็มิได้เปลี่ยนแปลงไปตาม “ความเชื่อ “ หรือ “ไม่เชื่อ “ ของใคร

           ความเชื่อ  ก็อย่าง  ความจริงก็อย่าง  สิ่งที่เราเชื่ออยู่  จริงก็ได้  ไม่จริงก็ได้  และสิ่งที่เราไม่เชื่อนั้น   จริงก็ได้  หรือ ไม่จริงก็ได้เช่น กัน

           ความเชื่อของเราจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นมาได้จากการฟัง  การศึกษาจะเป็นข้อมูลใหม่ ๆ มาเปลี่ยนแปลงความเชื่อของเราที่เคยเชื่ออย่างนั้นอยู่

          ความเชื่อเของเราเกี่ยวกับเรื่องที่เคยได้รู้  ได้พบเห็น  จะทำให้เป้าหมายที่เราได้กำหนดไว้เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกัน

          ประโยชน์ที่ได้จากการเข้าใจเรื่องกรรม  เราสามารถนำมาช่วยตัวเองได้เมื่อตกอยู่ในวาระที่จิตเศร้าหมอง หดหู่  ท้อแท้  เบื่อหน่าย  เกียจคร้านและสิ้นหวัง   เหตุเพราะว่าเราไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจในเรื่องจิตใจของตนเอง   ซึ่งภาวะจิตใจที่เรากำลังประสบอยู่เนื่องจากเหตุอะไร  หรือเป็นผลของเหตุอะไร  ส่วนใหญ่ของเคนเรามักจะรู้เฉพาะเวลาผลที่ไม่พอใจเกิดขึ้นและพยายามที่จะผลักไสให้ออกจากตัวเรามากเท่าไร   ยิ่งเดือดร้อนมากขึ้น   เพียงเรามีสติ  หยุุดพิจารณา  ใคร่ครวญว่าสิ่งที่เรากำลังประสบอยู่เกิดจากอะไร  พยายามแยกแยะจับประเด็นให้ถูกต้อง  ความท้อแท้  เหนื่อยหน่ายและสับสนจะหมดไป  พร้อมกับเวลาที่ผ่านไปทำให้เราเข้าใจชีวิตมากขึ้น   ขวัญและกำลังใจที่หายไปจะกลับคืนมา   เราเพียงทำเหตุที่ถูกต้องเท่านั้นเอง

           เมื่อเราได้  “ทำเหตุ “ แล้ว แต่ “ผล” ยังไม่เกิด  หรือยังเกิดไม่ตรงกับความต้องการตามเป้าหมายนั้น  เนื่องมากจาก

         1. ทำเหตุไม่ตรงกับผลที่ต้องการ

          2. ทำเหตุตรงแล้วแต่ความเพียรยังไม่พอ

          3. ทำเหตุถูกแล้ว และมีความเพียรพอแล้ว  แต่ยังไม่ถึงเวลาที่จะได้รับผล  

        ดังนั้น  การจะบรรลุถึงเป้าหมายทุกอย่างได้นั้น  ต้องรอได้ ทนได้  และต้องทำเหตุให้ถูกต้องกับผลที่ต้องการนั้นด้วย   เมื่อรู้ตามข้อมูลใหม่เช่นนี้แล้ว   จะได้ไม่ต้องกังวลหรือสงสัยว่า “ทำไมทำดีแล้วไม่เห็นได้ดี “ แต่จะมีความมั่นใจเกิดขึ้นใหม่ว่า ถ้าทำ “ เหตุที่ดี “ แล้วต้องได้รับ “ ผลดี “ อย่างแน่นอน

                ไม่ใช่ ……แล้วแต่กรรม

กุหลาบแดงกุหลาบแดงกุหลาบแดง

คัดลอกมาจากหนังสือ ชีวิตเลือกได้  ของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เชวง เดชะไกสยะ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น