ผม ได้เขียนถึงเรื่อง "การสวดมนต์" มาสองครั้งแล้วในคอลัมน์นี้ ด้วยเหตุว่ายังมีเรื่องราวของการสวดมนต์ที่คิดว่าน่าสนใจอีกหลายประเด็น อีกทั้งมีท่านผู้อ่านให้การตอบรับค่อนข้างมากมายก็เลยขอเขียนเรื่องนี้ต่อ อีกเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยช น์และเพื่อความเข้าใจบางประเด็นที่ผมเกรงว่าอาจจะเบี่ยงเบนไปบ้าง และสิ่งที่ผมอยากจะขอย้ำเตือนในเรื่องของการสวดมนต์สองสามข้อก็คือ
หนึ่ง ผมต้องการทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่านในประเด็นเหล่านี้ โดยอาศัยการอธิบายทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่าที่เป็นไปได้ เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของเรื่องจิตใจที่มีความสำคัญยิ่งต่อวิถีชีวิตของ พวกเราในฐานะที่เป็นมนุษย์ ที่กำลังจะ "ต้องมี" "วิวัฒนาการทางจิตใจ" ด้วยเพื่อก้าวข้ามไปสู่และสามารถใช้ชีวิตดำรงอยู่ "ยุคใหม่" ได้อย่างมีความสุข
สอง ผมยืนยันว่าการสวดมนต์เป็นเพียง "อุบาย" หนึ่ง เป็นวิธีการหนึ่งในหลายๆ อุบายในหลายๆ วิธีการที่จะนำพวกเราไปสู่ "สภาวะแห่งความเป็นปกติ" ตามที่เคยเขียนถึงวิธีการอื่นๆ ในครั้งก่อนๆ มาแล้ว มิได้มีความต้องการให้เห็นลงลึกเกินไปหรือยึดติดเกินไปกับเรื่อง "การสวดมนต์" หรือแม้แต่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ได้นำเสนอมาเพราะวิธีการที่นำเสนอในแต่ละตอนของคอลัมน์นี้ ก็เป็นเพียงวิธีการหนึ่งในหลายๆ วิธีการ เพราะ "อุบาย" ในการที่นำให้แต่ละท่านเข้าไปสู่ "สภาวะแห่งความเป็นปกติ" นั้นอาจจะไม่เหมือนกัน ความชอบของแต่ละท่านอาจจะไม่เหมือนกัน ไม่มีสูตรตายตัว ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวใดๆแม้แต่ว่าจะสวดบทไหนตอนไหน อยากให้ลองทำและเลือกสรรเอง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการลองทำจะบอกเองว่าวิธีการนี้ดีกับตัวเรา เหมาะสมกับตัวเราหรือไม่
สาม ผลของการสวดมนต์นั้นมิได้เป็นกฎเกณฑ์ตายตัวว่าจะต้องเกิดขึ้นจริงเสมอๆ ด้วยการคิดที่เคยชินของพวกเราแบบลูกสนุกเกอร์สองลูกที่วิ่งชนกันในทิศทาง หนึ่งที่แน่นอนด้วยแรงหนึ่ง ที่เท่าเดิมเสมอแล้วจะเกิดผลแบบนั้นทุกครั้ง
หากแต่พวกเราจะต้องมอง "ผลของการสวดมนต์" ในมิติของควอนตัมฟิสิกส์ด้วยว่า มันอาจจะเกิดผลแบบใดก็ได้ เหมือนอย่างอิเล็กตรอนที่อาจจะเป็นสสาร อาจจะเป็นพลังงาน มิใช่ว่าจะต้องเกิดผลจริงทุกครั้ง คือมีมิติของความไม่แน่นอนด้วยเสมอ (ตามหลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก Heisenberg"s Uncertainty)ข้อมูลในเรื่องการสวดมนต์นั้นไม่ได้จบเพียงแค่งานของคุณหมออลิซาเบธ ทาร์ก (Elisabeth targ.M.D.) ตามที่ผมได้เขียนถึงไว้ในตอนที่สองเท่านั้น หากแต่ยังมีงานวิจัยของสถาบัน MAHI (Mid-American Heart Institute) ที่ยังน่าสนใจมากก็คือในเวลาที่ไล่เลี่ยกับที่คุณหมอทาร์กได้ทำวิจัยเรื่องการสวดมนต์นั้น ในปี 1999 นี้เองทางสถาบัน MAHI ก็ได้ทำงานวิจัยในรูปแบบที่คล้ายๆ กันขึ้นมาด้วยเช่นกัน แต่มีแตกต่างกันและน่าสนใจมากก็คืองานวิจัยของสถาบัน MAHI นั้นผู้สวดมนต์มิได้เป็น "ผู้มีพลังพิเศษ" เหมือนอย่างที่ในงานวิจัยของคุณหมอทาร์กได้ทำ แต่เป็นบุคคลธรรมดาทั่วไปอย่างเราๆ ท่านๆ นี้เอง เพียงแต่ขอให้มีความเชื่ออยู่บ้างในเรื่องของพลังอำนาจพิเศษที่ว่านี้ก็พอ
บางส่วนของผู้สวดมนต์ก็เป็นเพียงพยาบาลที่ทำงานในสังกัด ผลการศึกษาวิจัยก็ออกมาเป็นที่น่าทึ่งมากว่า ในเวลา 12 เดือนของการศึกษาผู้ป่วยโรคหัวใจในหอผู้ป่วยหนัก (CCU)
การสวดมนต์โดยบุคคลธรรมดาแบบเราๆ ท่านๆ นี้ก็สามารถทำให้เกิดผลดีต่อการเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยเช่นกัน โดยที่อาการต่างๆ ของผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการสวดมนต์ให้นั้นมีอาการลดลงมากกว่า 10%ทั้งนี้ การประเมินผลเหล่านี้เป็นการประเมินผลจากอายุรแพทย์โรคหัวใจที่มีความเชี่ยว ชาญที่สุดของ MAHI จำนวน 3 ท่าน และการศึกษาเรื่องนี้ของสถาบัน MAHI ได้มีการควบคุมการวิจัยคล้ายกับของคุณหมออลิซาเบธ ทาร์ก ด้วยเพื่อเป็นการตัดความเป็นไปได้เรื่องผลทางจิตวิทยา คือ คณะแพทย์ในสถาบันไม่ทราบว่า คนไข้คนไหนเป็นผู้ถูกสวดมนต์ และคนไข้ทุกคนก็ไม่ทราบว่าจะมีกา รทำวิจัยเรื่องนี้ตลอดการวิจัย
ผมคิดว่างานทดลองของสถาบัน MAHI ชิ้นนี้จะช่วยทำให้ท่านผู้อ่านเกิดความมั่นใจได้และสามารถนำการสวดมนต์มา ประยุกต์ในชีวิตประจำวันไ ด้จริงๆ เพราะผลการทดลองก็ชี้ชัดว่า
ผู้ที่สวดมนต์ให้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้มีพลังอำนาจพิเศษอย่างที่เคยเข้าใจ พูดในอีกนัยหนึ่งก็คือ "พวกเราทุกคน" ล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีพลังอำนาจพิเศษกันทั้งนั้น เพียงแต่พวกเราไม่เคยลองใช้ ไม่เชื่อที่จะใช้ ไม่เชื่อที่จะลองทำต่างหาก
ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้พวกเราสามารถนำเรื่องการสวดมนต์มาใช้งานได้อย่างจริงๆ จังๆ เสียทีและอาจจะมีประโยชน์ในอีกเรื่องหนึ่งตรงที่อาจจะช่วยให้พวกเราได้หลุด พ้นไปจาก "กรณีมิจฉาชีพ" ต่างๆ ที่อ้างเรื่องความวิเศษพิสดารตามที่คนไทยโดยทั่วไปมักจะตกเป็น "เหยื่อ" ได้อย่างง่ายๆ โดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
นอกจากนี้ในปี 1991 ยังมีงานทดลองอีกชิ้นหนึ่งที่ช่วยอธิบายเรื่อง "คลื่นพลังงาน" ที่เกิดจากการสวดมนต์นั้นสามารถเดินทางออกจากตัวผู้สวดและออกไป "ก่อผลหรือเกิดผลดี" ภายนอกร่างกายได้
และผมคิดว่าอาจจะนำมาอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้การสวดมนต์นั้นเกิดผลดีต่อ สุขภาพของมนุษย์ได้ ก็คืองานวิจัยที่เรียกว่าโครงการกำแพงทองแดง (Copper Wall Project) ของนักวิจัยที่ชื่อเอลเมอร์ กรีน (Elmer Green,Ph.D.) ซึ่งได้ทำการทดลองมาตั้งแต่ช่วงปี 1983 โดยเขาได้รับแรงบันดาลใจจากข้อมูลเรื่องการฝึกสมาธิของพระชาวทิเบตที่ให้ลูก ศิษย์นั่งหันหน้าเข้าหา กำแพงเรียบ
การทดลองครั้งนี้ได้นำ "ผู้มีพลังพิเศษ" มาอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมซึ่งผนังทุกด้านนั้นสร้างขึ้นด้วยทองแดง ซึ่งทองแดงนี้จะเป็นตัวกันคลื่นพลังงานจากภายนอกทั้งหมดที่จะมามีผลต่อภายใน ห้องที่มี "ผู้มีพลังพิเศษ" ทำการนั่งสมาธิอยู่เป็นเวลานานครั้งละ 45 นาที ทำการทดลองทั้งหมด 600 ครั้งการวัดกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นวัดด้วยเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าแบบพิเศษที่ติดไว้ ที่ผนังห้องทั้งสี่ด้านและที่ติด กับตัวของ "ผู้มีพลังพิเศษ" เอง โดยที่กระแสไฟฟ้าที่วัดได้นี้เกิดขึ้นได้โดยไม่มีการเคลื่อนไหวของตัว "ผู้มีพลังพิเศษ" เลย พบว่า"ผู้มีพลังพิเศษ" นี้สามารถสร้างให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่วัดได้ตั้งแต่ 4-221 โวลต์ในขณะที่เขาถูกขอให้เข้าสู่ "สภาวะ" หนึ่งที่ใช้ในการเยียวยาคนไข้ กระแสไฟฟ้าที่วัดได้นี้มีค่ามากกว่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้จากคลื่นไฟฟ้าจาก หัวใจ (ECG) 10,000 เท่า และมากกว่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้จากคลื่นไฟฟ้าจากสมอง (EEC) 100,000 เท่ายังมีความน่าแปลกในอีกประเด็นที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่องนี้ก็คือวิลเลียม ทิลเลอร์ (William Tiller, Ph.D.) ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์เรื่องคลื่นในโครงการนี้พบว่า
"ตัวให้กำเนิดพลังงานไฟฟ้า" หรือ "แหล่งพลังงาน" ที่ว่านี้มาจากส่วนหนึ่งของร่างกายของผู้มีพลังงานพิเศษและส่วนของร่างกาย ที่ว่านี้คือ "บริเวณท้องน้อย" ซึ่งไปตรงกับจุดตันเถียนล่างในศาสตร์ของซี่กงนั่นเอง (ในแนวคิดของซี่กงร่างกายมีตันเถียนสามจุดที่เป็นแหล่งของพลังงานซี่ (Chi) คือท้องน้อย หัวใจ และตาที่สาม)
งานวิจัยทั้งสองชิ้นนี้ พอจะสรุปได้ว่าการสวดมนต์ทำให้เกิดเป็น "พลังงาน" ที่สามารถวัดค่าออกมาได้จริง และสิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ
การ สวดมนต์ที่ทำให้เกิดผลดีต่อสุขภาพนั้นไม่จำเป็นต้องมาจาก "ผู้มีพลังพิเศษ" หากแต่สามารถเกิดผลขึ้นได้จากปุถุชนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ นี้เอง
ที่มา:หนังสือพิมพ์มติชน คอลัมน์ "จับจิตด้วยใจ" โดย น.พ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์
ขอบคุณข้อมูลจาก http://board.palungjit.com/
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น