Ads 468x60px

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ธรรมะจากการ์ตูน “ มิลินทปัญหา”

พุทธศาสนาสมัยพระเจ้ามิลินท์

พระพุทธศาสนาเจริญเฟื่องฟูอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้ามิลินท์ หรือ พระเจ้าเมนันเดอร์ (Menander) ซึ่งเป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกที่ปกครองอินเดียอยู่ระยะหนึ่ง

ก่อนหน้านี้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกทับเข้ารุกรานอินเดีย แคว้นที่ทรงตีได้แล้วโปรดให้แม่ทัพนายกองของพระองค์ปกครองดูแล โดยทิ้งกองทหารกรีกไว้บางส่วน ฝรั่งชาติกรีกเหล่านี้ได้ตั้งตนเป็นอนาจักรอิสระขึ้น เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สวรรคตแล้ว

อาณาจักรที่มีกำลังมากคือ อาณาจักรซีเรีย และ อาณาจักรบากเตรีย ปัจจุบันคือ เตอรกี และ อัฟกานิสถาน ซีเรียเป็นสื่อเชื่อมอารยธรรมกรีกกับอินเดียเป็นเวลานานถึง 247 ปี จึงถูกโรมันตีแตก ส่วนบากเตรียเดิมก็อยู่ในอำนาจของซีเรีย มาสถาปนาเป็นรัฐอิสระได้เมื่อ พ.ศ.287 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช

เหตุการทางประวัติศาสตร์ในแถบนี้ของโลกสับสนวุ่นวายด้วยการแย่งชิงอำนาจกันอยู่ประมาณร้อยปีเศษ จนกระทั่งถึง พ.ศ. 392 พระราชาเชื้อสายกรีกพระองค์หนึ่ง พระนามว่า เมนันเดอร์ หรือที่เรียกในคัมภีร์บาลีว่า พระเจ้ามิลินท์ ได้แผ่อำนาจลงมาถึงตอนเหนือของลุ่มแม่นํ้าคงคา เดิมทีมิได้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ทรงขัดขวางการขยายตัวของพระพุทธศาสนาด้วยซํ้าไป เนื่องจากทรงแตกฉานวิชาไตรเพท (ของพราหมณ์) และศาสนาปรัชญาต่างๆ รวมทั้งพุทธศาสนาด้วย จึงประกาศโต้วาทีกับนักบวชในลทธิศาสนาต่างๆในเรื่องศาสนาและปรัชญา ปรากฏว่าไม่มีใครสู้พระองค์ได้

จนกระทั่งคณะสงฆ์เลือกพระเถระผู้สามารถรูปหนึ่งมายังเมืองสาคละ เพื่อสนทนาเรื่องศาสนาและปรัชญากับพระเจ้ามิลินท์ พระเถระผู้นั้นคือพระนาคเสน พระเจ้ามิลินท์ทรงทราบข่าวนั้นเสด็จไปสนทนาเป็นเชิงปุจฉาวิสัชนา อภิปรายกันขึ้นเป็นเวลาหลายวัน ผลปรากฏว่า พระเจ้ามิลินท์ยอมแพ้พระนาคเสน ข้อสนทนาระหว่างทั้งสองท่านนี้ ได้รวบรวมไว้เป็นคัมภีร์ เรียกว่า "มิลินทปัญหา"

 

ที่มา  http://buddhiststudy.tripod.com/milin.htm

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น